ดิฉันมีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านชอบที่จะเล่าบทความดีๆ และบทความที่เป็นประโยชน์ให้นักศึกษาทุกคนได้รับฟัง และมีอยู่บทความหนึ่งที่ดิฉันชอบมาก คงจะเป็นเรื่อง “การศึกษาของเด็กมาเลเซีย”
อาจารย์เล่าให้ฟังว่า
มีเพื่อนของอาจารย์อยู่คนหนึ่ง เขาได้ไปเที่ยวที่ประเทศมาเลเซีย
และในระหว่างที่เขากำลังนั่งรถเมล์
อยู่นั้น เขาก็ได้สังเกตเห็นเด็กผู้ชายที่เป็นคนมาเลคนหนึ่ง
เด็กคนนั้นกำลังพูดคุยอยู่กับคนขับรถเมล์ โดยเขาจะใช้ภาษามาเลในการสื่อสาร
แรกๆก็ไม่ได้สนใจอะไรมาก แล้วพอสักพักเด็กคนนั้นก็หันไปคุยกับเพื่อนอีก
โดยจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เพื่อนของอาจารย์เริ่มสำรวจเด็กคนนี้แล้ว และก็พบว่าในมือของเขาก็กำลังถือหนังสือภาษาจีนอยู่อีกด้วย
เด็กคนนั้นทำให้เพื่อนอาจารย์อึ้งไปสักพัก ไม่คิดเลยว่าเด็กมาเลเขาจะพัฒนาไปได้ไกลขนาดนี้
ซึ่งเด็กไทยของเราเทียบไม่ได้เลย
พอดิฉันได้รับฟังเรื่องนี้
ก็รู้สึกทึ่งในความสามารถของเด็กประเทศเขาจริงๆ ไม่คิดว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา
จะไปได้ไกลขนาดนี้แล้ว ขณะที่เด็กไทยเราเอง ยังอยู่กับที่
ไม่ได้มีการพัฒนาอะไรใดๆเลย ยิ่งถ้าพูดถึงในเรื่องของภาษา
เด็กไทยจะกลัวกับการเรียนภาษามาก เหมือนเวลาได้เจอกับชาวต่างชาติจริงๆ
เด็กไทยมักจะไม่กล้าพูด แล้วรีบหาทางหนี
เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเผชิญหน้ากับชาวต่างชาติ ถ้าประเทศไทยเรามีการจัดระบบการศึกษาแบบใหม่
รู้จักปลูกฝังให้เด็กรักในการที่จะเรียนรู้ภาษาแบบเด็กประเทศเขาบ้างก็คงจะดีไม่น้อยเลยทีเดียว
และแนวทางในการแก้ไขปัญหาก็คือ ปรับวิธีคิด
วิธีปฏิบัติของสำนักงานมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติให้เป็นการวัดประเมินที่สอดคล้องกับสภาพจริง
และเป็นเพียงการประเมินเพื่อนำไปวางแผนพัฒนา (ไม่ใช่เรื่องของการนำมาให้คุณให้โทษผู้ถูกประเมิน)
ที่ผ่านมาเราเน้นการวัดคุณภาพด้วยองค์กรที่จัดตั้งตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ได้แก่
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
สถาบันทดลองการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น